มัธยมศึกษา 1สังคมศึกษา

โครงสร้างหลักของรัฐธรรมนูญไทย

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเหมือนโครงสร้างพื้นฐานของกฎหมายอื่นๆ ทั้งหมด ซึ่งกฎหมายใดๆ จะมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ หากมีการบัญญัติกฎหมายอื่นใดที่มีความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญขึ้นมา กฎหมายนั้นต้องตกไป ไม่อาจมีผลบังคับใช้

ภาพ : shutterstock.com

ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก ภายหลังจากการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่คือรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20

โครงสร้างหลักของรัฐธรรมนูญไทยนั้น ประกอบด้วย 16 หมวด และบทเฉพาะกาล (รวม 279 มาตรา) อันมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

หมวด 1 บททั่วไป : มาตาราที่ 1-5
หมวด 2 พระมหากษัตริย์ : มาตราที่ 6-24
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย : มาตราที่ 25-49
หมวด 4 หน้าที่ชนชาวไทย : มาตราที่ 50
หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ : มาตราที่ 51-63
หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ : มาตราที่ 64-78
หมวด 7 รัฐสภา :

        – ส่วนที่ 1 บททั่วไป : มาตราที่ 79-82
        – ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร : มาตราที่ 83-106
        – ส่วนที่ 3 วุฒิสภา : มาตราที่ 107-113
        – ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง : มาตราที่ 114-155
        – ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของสองสภา : มาตราที่ 156-157

หมวด 8 คณะรัฐมนตรี : มาตราที่ 158-183
หมวด 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ : มาตราที่ 184-187
หมวด 10 ศาล : มาตราที่ 188-199
หมวดที่ 11 ศาลรัฐธรรมนูญ : มาตราที่ 200-214
หมวดที่ 12 องค์กรอิสระ : มาตราที่ 215-247
หมวดที่ 13 องค์กรอัยการ : มาตราที่ 248
หมวดที่ 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น : มาตราที่ 259-254
หมวดที่ 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ : มาตราที่ 255-256
หมวดที่ 16 การปฏิรูปประเทศ : มาตราที่ 257-261
บทเฉพาะกาล : มาตราที่ 262-279

เรียบเรียงโดย : ถาปกรณ์ กำเนิดศิริ

เครดิต ทรูปลูกปัญญา

Comment here