มัธยมศึกษา 1มัธยมศึกษา 6

วิธีการ เขียนโครงร่าง

วิธีการ1

วางแผนโครงเรื่อง

  1. ตั้งชื่อภาพ Write an Outline Step 1
    1
    เลือกหัวข้อ. ไม่ว่างานของคุณจะเป็นแบบพินิจพิเคราะห์ โน้มน้าว ให้ข้อมูล เป็นงานวิจัย หรือรวมทุกอย่างไว้ด้วยกัน คุณต้องเลือกมุ่งประเด็นไปที่หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเพื่อที่ความคิดของคุณจะได้ไม่กระจัดกระจาย [1]

    • ในขั้นนี้ ยังไม่เป็นไรหากหัวข้อที่คุณคิดไว้จะกว้างแทนที่จะตีกรอบให้แคบลงจนได้ใจความหลักที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น เมื่อเริ่มคิดหัวข้อ แทนที่จะตีกรอบความคิดให้แคบลงแต่แรกจนได้หัวข้อว่า “แนวคิดของชนชาติฝรั่งเศสต่อกลุ่มนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพมาร์กีในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง” คุณอาจจะหาข้อมูลทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับชีวิตของคนฝรั่งเศสในสมัยที่เยอรมณีเข้ามายึดครองก่อนก็ได้
    • คุณอาจเขียนโครงเรื่องของงานประเภทสร้างสรรค์ได้เช่นกัน เช่น งานวรรณกรรม โดยคุณต้องคิดถึงหัวข้อหลักที่จะศึกษา (เช่น การประยุกต์บทละครแฮมเลทของเช็คสเปียร์ให้เป็นแนวสตีมพังค์) เช่นเดียวกับงานเขียนประเภทอื่น เพียงแต่คุณจะไม่มีใจความหลักและโครงเรื่องของคุณก็จะดำเนินไปตามโครงสร้างของวรรณกรรม (เช่น เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในเรื่อง เป็นต้น)
  2. ตั้งชื่อภาพ Write an Outline Step 2
    2
    กำหนดวัตถุประสงค์หลักของงานเขียน. การกำหนดเป้าหมายของงานเขียนไม่เพียงแต่จะทำให้คุณรู้ทิศทางที่หัวข้อกำลังดำเนินไป แต่ยังจะช่วยให้คุณวางโครงสร้างของงานเขียนได้อย่างมีหลักการ คุณอาจข้ามขั้นตอนนี้ไปได้หากคุณต้องเขียนเรียงความอย่างเป็นทางการเพื่ออธิบายวัตถุประสงค์หลักของงานเขียนอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ คุณก็ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าคุณต้องการให้งานชิ้นนี้บรรลุเป้าหมายใด

    • คุณอาจเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของสองสิ่งโดยใช้ทักษะการเชื่อมโยงและการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเข้าถึงบทวิเคราะห์ของงานทั้งสองชิ้น ขั้นตอนดังกล่าวจะซับซ้อนกว่าการสรุปประเด็นทั่ว ๆ ไป แต่โดยทั่วไปแล้วก็ไม่ได้ต้องค้นคว้าข้อมูลจากภายนอกมากมายอะไรนัก [2]
    • นำเสนอเหตุและผล แสดงให้เห็นว่าทำไมบางสิ่งถึงเกิดขึ้น (การนำเสนอรูปแบบนี้จะเป็นประโยชน์มากหากคุณกำลังเขียนเรียงความประวัติศาสตร์เพราะคุณจะมีโอกาสได้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์และผลกระทบของสิ่งนั้นต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ นั่นเอง)
    • จำกัดความและวิเคราะห์แง่มุมหรือประเด็นของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดถึงคตินิยมสิทธิสตรีและพูดถึงความเป็นมาของคำ ๆ นี้ คตินิยมสิทธิสตรีประเภทต่าง ๆ และอธิบายว่าคนแต่ละกลุ่มมีความเห็นอย่างไรต่อแนวคิดดังกล่าว
    • นำเสนอความคิดของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง (โดยคุณควรจะให้ข้อมูลหรือเอ่ยถึงฝั่งที่คิดตรงข้ามด้วยเช่นกัน)
    • หาหลักฐานมาสนับสนุนและสรุปประเด็น เมื่อเขียนเรียงความ คุณต้องหาหลักฐานที่เฉพาะเจาะจงมาสนับสนุนข้อสรุปและประเด็นสำคัญที่คุณนำเสนอเสมอ ไม่ว่าคุณจะแค่เขียนเรียงความเล่าเกี่ยวกับตัวเอง เขียนเรียงความเพื่อโน้มน้าว (เรียงความประเภทนี้ยิ่งต้องมีหลักฐานมายืนยันเลยล่ะ) หรือเรียงความสร้างสรรค์ก็ตาม
  3. ตั้งชื่อภาพ Write an Outline Step 3
    3
    รวบรวมข้อมูลมาสนับสนุน. โดยข้อมูลที่ว่าอาจเป็นการอ้างอิงคำพูด, สถิติ, ทฤษฎี, ภาพ, จุดหันเหของเหตุการณ์ หรือความรู้สึกส่วนตัวที่คุณมีต่อเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่คุณกำลังเขียนด้วย ดูให้ดีว่าข้อมูลเหล่านี้สนับสนุนสิ่งที่คุณกำลังเขียนหรือเปล่า ถ้าคุณพบว่าหลักฐานหรือความคิดบางอย่างขัดแย้งกัน คุณต้องอธิบายให้ได้ว่าทำไมความคิดเหล่านั้นจึงไม่ถูกต้อง ไม่ใช่มองข้ามเรื่องเหล่านั้นไปเลย

    • เพิ่มเติมข้อเสนอของคุณด้วยหลักฐาน ข้อมูลยืนยันที่เป็นลายลักษณ์อักษรและตัวอย่างต่าง ๆ การเพิ่มหลักฐานที่หามาลงไปในโครงร่างจะทำให้โครงสร้างรายงานดูน่าเชื่อถือมากขึ้น จากนั้นลองพิจารณาหาจุดอ่อนของงานชิ้นนี้ดู
    • ถ้าคุณกำลังหาข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเพื่อมาสนับสนุนงานวรรณกรรม (งานเขียนประเภทนี้จะเขียนโครงร่างต่างจากงานเขียนวิชาการอยู่สักหน่อย) เป็นการดีหากคุณหาข้อมูลเกี่ยวกับท้องเรื่อง ตัวละคร เสื้อผ้า อาหาร ฯลฯ เพราะคุณต้องทำให้เรื่องของคุณดูน่าเชื่อถือมากที่สุด
    • เมื่อคุณจดข้อมูลสำหรับเขียนโครงร่าง อย่าลืมจดหมายเลขหน้าของหนังสือและจดที่มาของข้อมูลลงไปด้วย เวลาคุณกลับมาอ่านดูเพื่อเขียนโครงร่างจริง ๆ จะได้หาเจอง่าย ๆ ไงล่ะ
  4. ตั้งชื่อภาพ Write an Outline Step 4
    4
    เลือกประเภทโครงร่างที่เหมาะกับคุณ. การเขียนโครงร่างเป็นหัวข้อจะใช้ข้อความสั้น ๆ ทั่ว ๆ ไปและอาจเป็นประโยชน์หากคุณอยากให้โครงร่างมีความยืดหยุ่น ส่วนการเขียนโครงร่างเป็นประโยคจะเขียนด้วยประโยคสมบูรณ์และจะให้ข้อมูลที่ซับซ้อนและละเอียดกว่า [3]

    • ลองเขียนโครงร่างเป็นหัวข้ออย่างหลวม ๆ ดูก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนไปเขียนเป็นประโยคเมื่องานดำเนินไป
    • โครงร่างทั้งสองชนิดไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันมาก แต่คุณสามารถนำประโยคที่เขียนในโครงร่างชนิดที่สองมาใส่ในรายงานหรือการนำเสนอได้เลยก็เท่านั้น
วิธีการ2

เขียนโครงร่าง

  1. ตั้งชื่อภาพ Write an Outline Step 5
    1
    ตัดสินใจว่าจะเรียงลำดับหลักฐานที่มาสนับสนุนในงานเขียนอย่างไร. โดยหลักฐานทั้งหมดต้องสนับสนุนวัตถุประสงค์หลักของงานเขียนของคุณและต้องเรียงลำดับอย่างเหมาะสมที่สุดด้วย ซึ่งก็คือต้องเริ่มจากหลักฐานที่ฟังขึ้นที่สุดก่อนและต้องดูให้แน่ใจว่าหลักฐานทุกอย่างดำเนินต่อเนื่องกันอย่างไม่สะดุด [4]

    • ตัวอย่างเช่น: ถ้าคุณกำลังนำเสนอภาพรวมทางประวัติศาสตร์ คุณอาจจะเรียงลำดับเหตุการณ์ตามเวลาที่เกิด หรือถ้าคุณกำลังนำเสนอการตีความทางวรรณคดี คุณอาจจะเรียงลำดับประเด็นต่าง ๆ ตามแก่นเรื่อง หากคุณกำลังชั่งน้ำหนักของของข้อถกเถียงของสองฝ่ายก่อนที่จะเลือกสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คุณต้องนำเสนอหลักฐานที่ขัดแย้งกับฝั่งที่คุณสนับสนุนก่อนแล้วค่อยโต้แย้งด้วยหลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดของคุณด้วยการเขียนเชิงโน้มน้าว
  2. ตั้งชื่อภาพ Write an Outline Step 6
    2
    กำหนดหัวข้อหลักของงาน. กำหนดว่าจะแบ่งเรื่องออกเป็นหัวข้อหลักต่าง ๆ ที่เหมาะสมได้อย่างไรบ้างโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์หลักของงานและเนื้อหาของข้อมูลสนับสนุนที่หามาได้ ขั้นตอนนี้จะนำไปสู่โครงร่างขั้นแรก ซึ่งโดยปกติแล้วมักใส่หมายเลขโรมันนำหน้า (I, II, III, IV, ฯลฯ)

    • โดยปกติแล้วหนึ่งหัวข้อหลักจะพัฒนาต่อเป็นย่อหน้าหนึ่งย่อหน้าเมื่อเริ่มเขียนเรียงความ โดยหัวข้อหลัก I. จะกลายเป็นย่อหน้าเปิดเรื่อง ส่วนหัวข้อหลัก II. ก็จะกลายเป็นย่อหน้าของสาระสำคัญประเด็นแรกที่คุณต้องการนำเสนอ และดำเนินต่อไปเช่นนี้เรื่อย ๆ
    • ตัวอย่างเช่น: ถ้าคุณจะนำเสนอภาพรวมทางประวัติศาสตร์ของรถยนต์ แต่ละหัวข้อหลักอาจจะครอบคลุมยุคสมัยหลัก ๆ ของประวัติศาสตร์รถยนต์ก็ได้
  3. ตั้งชื่อภาพ Write an Outline Step 7
    3
    คิดประเด็นย่อยอย่างน้อยสองประเด็นให้แต่ละหัวข้อหลัก. เลือกประเด็นปลีกย่อยเหล่านี้โดยคิดถึงวัตถุประสงค์ของรายงานและรายการข้อมูลสนับสนุนที่คุณได้รวบรวมไว้ก่อนหน้านี้ ขั้นตอนนี้จะนำไปโครงร่างขั้นที่สอง ซึ่งโดยปกติแล้วมักใส่ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ภาษาอังกฤษนำหน้า (A, B, C, D, ฯลฯ).

    • ย่อหน้าโครงร่างขั้นที่สองให้อยู่ถัดจากโครงร่างขั้นแรก 0.5 to 1 inch (1.3 to 2.5 cm)
    • ตัวอย่างเช่น: ถ้าคุณจะนำเสนอภาพรวมทางประวัติศาสตร์ของรถยนต์ ประเด็นย่อยอาจครอบคลุมเรื่องเครื่องยนต์ที่ใช้กันทั่วไปในแต่ละยุคก็ได้
  4. ตั้งชื่อภาพ Write an Outline Step 8
    4
    คิดหัวข้อย่อยให้แต่ละประเด็นย่อยของหัวข้อหลักหากจำเป็น. โดยใช้หลักฐานต่าง ๆ ที่หามาเพื่อสนับสนุนงานเขียนของคุณให้คุ้มค่าที่สุด หัวข้อย่อยดังกล่าวจะกลายเป็นโครงร่างขั้นที่สาม ซึ่งโดยปกติแล้วมักใส่เลขอารบิกนำหน้า (1, 2, 3, 4,ฯลฯ).

    • ถ้าคุณยังอยากแทรกรายละเอียดเพิ่มเติมให้โครงร่างอีกชั้น ใช้เลขโรมันตัวเล็กนำหน้า (i, ii, iii, iv, ฯลฯ) จากนั้นใส่ตัวอักษรพิมพ์เล็กภาษาอังกฤษ (a, b, c, d, ฯลฯ) แล้วลงท้ายด้วยการใส่เลขอารบิก (1, 2, 3, 4, ฯลฯ)
    • คุณไม่น่าจะต้องมีลำดับโครงร่างเกินสี่ขั้น ถ้ามีก็ลองรวมประเด็นต่าง ๆ เข้าด้วยกันดูสิ
    • ตัวอย่างเช่น: ถ้าคุณจะนำเสนอภาพรวมทางประวัติศาสตร์ของรถยนต์ แต่ละหัวข้อย่อยอาจครอบคลุมนวัตกรรมเทคโนโลยีของเครื่องยนต์ต้นแบบก็ได้

เคล็ดลับ

  • เขียนโครงร่างอย่างกระชับและตรงไปตรงมา ไม่จำเป็นต้องเขียนอะไรสวยหรู แค่เขียนแต่ละประเด็นให้ชัดเจนก็พอแล้ว
  • อย่ากลัวที่จะตัดข้อมูลที่ไม่เข้าประเด็นออกเมื่อคุณได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อรายงานและตีกรอบขอบเขตที่งานเขียนของคุณจะมุ่งประเด็นถึงแล้ว
  • ใช้โครงร่างเพื่อช่วยจำโดยเลือกคำที่เฉพาะเจาะจงเพื่อกระตุ้นความคิด
  • ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเขียนโครงร่าง คอมพิวเตอร์มีเครื่องมือช่วยเขียนโครงร่างหลายอย่าง นอกจากนี้ คุณยังสามารถเพิ่มเติมข้อมูล ลบ หรือจัดเรียงข้อมูลใหม่ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
  • หากคุณเขียนโครงร่างด้วย Microsoft Word โปรแกรมดังกล่าวมีระบบย่อหน้าอัตโนมัติที่คุณสามารถใช้ในการเขียนโครงร่างได้ หรือถ้าคุณชอบย่อหน้าเองมากกว่า ลองอ่านบทความอื่น ๆ ในวิกิฮาวเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการย่อหน้าใน Word ดูนะ
  • ย่อหน้าแต่ละขั้นของโครงร่างให้อยู่ถัดจากขั้นก่อนหน้าประมาณ 0.5 – 1 นิ้ว (1.3 to 2.5 ซม.)
  • ย่อหน้าส่วนย่อยแต่ส่วนโดยใช้ระยะห่างเท่า ๆ กัน ไม่ใช่ย่อหน้าส่วนแรก 0.5 นิ้ว (1.3 ซม) ส่วนถัดมา 1 นิ้ว (2.5 ซม.) ส่วนถัดมา 0.75 นิ้ว (1.9 ซม.) ฯลฯ

คำเตือน

  • โครงร่างไม่ใช่เรียงความ ดังนั้นคุณควรเขียนแค่ประเด็นหลัก ๆ ของงานลงไปหรืออ้างอิงถึงรายละเอียดหรือตัวอย่างที่ชี้เฉพาะด้วยข้อความที่ไม่เยิ่นเย้อ โครงร่างของคุณต้องกระชับได้ใจความ
  • ตั้งใจเขียนโครงร่างแล้วสิ่งนี้จะช่วยให้คุณเขียนเรียงความได้อย่างมีหลักการในระยะยาว ที่เรียงความหลายฉบับเขียนออกมาได้ไม่ดีเพราะโครงสร้างและองค์ประกอบไม่ดีพอนั่นแหละ
  • โดยทั่วไปแล้ว คุณไม่ควรมีประเด็นหลักหรือประเด็นย่อยเพียงอย่างเดียวในการเขียนโครงร่างแต่ละขั้น เช่นถ้าคุณคิดประเด็นสนับสนุน A ได้ คุณก็ควรคิดประเด็น B ไว้ด้วยเพื่อที่งานจะได้ดูซับซ้อนขึ้นมาสักหน่อย

Comment here